วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2551

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI)จัดทำโดยน.ส.หทัยรัตน์ ศักดิ์ศรีสวัสดิ์ ม.4/7 เลขที่34

•คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า CAI จะเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับผู้ที่อยู่ในวงการการศึกษาเพราะปัจจุบันมีผู้สนใจศึกษาและพัฒนา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกันเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ระดับโรงเรียนจนถึงระดับมหาวิทยาลัยตลอดจนหน่วยงานต่างๆ บริษัทคอมพิวเตอร์ หลายแห่งได้มีการลงทุนพัฒนาในเรื่องนี้ จากนี้ยังมีผลงานวิจัยอีกจำนวนมากที่ทำการศึกษาวิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในการประชุมวิชาการเรื่อง การนำเสนอคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์" ซึ่งสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดเป็นประจำทุกปี ได้พบว่ามีผู้สนใจเข้าร่วมประชุม และเสนอผลงานอย่างมากมาย จึงเป็นนิมิตหมายอันดีสำหรับวงการการศึกษาที่จะมีการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อีกรูปแบบหนึ่ง คือคอมพิวเตอร์

นักการศึกษาพยายามที่จะนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน (Instructional Computing Material) การพัฒนาสื่อการสอนคอมพิวเตอร์นี้ส่วนใหญ่เน้นที่การจัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI Software) การทำงานโดยใช้โปรแกรมควบคุม ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเป็นสื่อการสอน ที่มีความยืดหยุ่นมากกว่าสื่อการสอนประเภทอื่นๆ
–ลำดับขั้นการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
–แบ่งออกเป็น 8 ขั้นตอน ดังนี้
1.
ระบุเหตุผล 2. กำหนดวัตถุประสงค์
3.
ลำดับขั้นตอนการทำงาน 4. สร้างโปรแกรม
5.
ทดสอบการทำงาน 6. ปรับปรุงแก้ไข
7.
ประยุกต์ใช้ในห้องเรียน 8. ประเมินผล

ลำดับขั้นตอนที่ 1,2 และ 3 เป็นการกำหนดคุณลักษณะและรูปแบบการทำงานของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นหน้าที่ของนักการศึกษาหรือผู้สอนเพราะมีความรอบรู้ ในเรื่องเนื้อหาวิชาที่จะสอนหลักจิตวิทยาการศึกษา วิธีการสอน และการวัดผลประเมินผลการศึกษาส่วนลำดับขั้นตอนที่ 4,5 และ 6 เป็นการสร้าง และทดสอบและปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นหน้าที่ของนักคอมพิวเตอร์

ประสบการในการเขียนโปรแกรมและใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์อย่างมี อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับลำดับขั้นตอนที่ 7 และ 8 เป็นการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน และประเมินผลการใช้ ในช่วงนี้เป็นการประสานงานระหว่างนักการศึกษากับนักคอมพิวเตอร์ เพราะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและการสร้างโปรแกรม สำหรับการประเมินผลเป็นลำดับขั้นตอนสุดท้ายที่จะตัดสินใจว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่พัฒนาขึ้น เป็นอย่างไร สมควรจะใช้ในการเรียนการสอนหรือไม่
1. ระบุเหตุผล

–หลังจากที่เลือกเนื้อหาวิชาที่จะทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแล้ว จะต้องสามารถตอบคำถามต่อไปนี้ให้ได้
- ทำไมเลือกเนื้อหานี้ มีปัญหาในการสอนหรือไม่และมีเนื้อหาที่เร่งด่วนกว่านี้หรือไม่
- ทำไมต้องใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ใช้สื่อประเภทอื่นที่ราคาถูกกว่าได้หรือไม่
–ถ้าตอบคำถามทั้งสองคำถามไม่ได้หรือน้ำหนักของคำตอบไม่หนักแน่นพอ ควรยกเลิกการทำโปรแกรมดังกล่าว
ตัวอย่างการระบุเหตุผลโปรแกรมสาธิตการทดลองของทอมสัน(Thomson's Experiment)


การสอนเรื่อง "ทางเดินของลำอิเล็กตรอนในสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า" เป็นเนื้อหาที่ค่อนข้างจะสอนยาก เนื่องจากนักเรียน ไม่สามารถมองเห็นภาพจริงแม้จะมีอุปกรณ์ทดลอง คือหลอดรังสีแคโทด แต่มีราคาแพงและอันตราย เนื่องจากใช้ไฟฟ้าแรงสูง โปรแกรมสาธิตการทดลองของทอมสันจะทำหน้าที่จำลองการทำงานของหลอดรังสีแคโทด โดยแสดงทางเดินและความเร็วของ ลำอิเล็กตรอนเมื่อเปลี่ยนขนาดและทิศทางของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก
2. กำหนดวัตถุประสงค์


–เป็นการกำหนดคุณสมบัติและสิ่งที่คาดหวังจากผู้เรียนก่อนและหลังการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การกำหนดวัตถุประสงค์ ควรจะระบุสิ่งต่อไปนี้
- ความรู้พื้นฐานของผู้เรียน ก่อนที่จะใช้โปรแกรม
- สิ่งที่คาดหวังจากผู้เรียน หลังจากที่ใช้โปรแกรมว่า นักเรียนควรรู้อะไร
–วัตถุประสงค์นี้ควรบอกให้ผู้เรียนทราบก่อนจะให้ผู้เรียนได้เตรียมตัวและทราบจุดหมายปลายทางในการใช้โปรแกรม
ตัวอย่างการกำหนดวัตถุประสงค์


–โปรแกรมนี้เหมาะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายซึ่งมีความรู้ในเรื่องต่อไปนี้
–1. มวลและความเร็ว
–2. อนุภาคของสสาร
–3. สนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า
–โปรแกรมออกแบบสำหรับใช้สอนเสริมให้นักเรียนที่ยังไม่เข้าใจบทเรียนจากการเรียนในห้องเรียน หรือครูผู้สอนอาจจะใช้เป็นสื่อการสอนสาธิตเรื่องนี้ หลังจากนักเรียนได้เรียนจากโปรแกรมแล้วควร จะรู้สิ่งต่อไปนี้
–1. สามารถบอกทิศทาง และความเร็วของลำอิเล็กตรอน เมื่อผ่านสนามแม่เหล็กไฟฟ้าลักษณะต่างๆ
–2. สามารถอธิบายผลกระทบต่อการเคลื่อนที่ของลำอิเล็กตรอนที่เกิดจากสนามแม่เหล็กและสนาม ไฟฟ้า
3. ลำดับขั้นตอนการทำงาน
เป็นการกำหนดรูปแบบการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยเขียนเป็นต้นแบบที่เรียกว่า "Story Board" ซึ่งจะใช้ในการสร้างต้นแบบ ควรบอกลักษณะและลำดับการทำงานของโปรแกรม เพื่อผู้ที่จะนำโปรแกรมไปใช้จะได้เตรียมอุปกรณ์และสภาพการทำงานในการใช้โปรแกรม
–ตัวอย่างลำดับขั้นตอนการทำงาน
–โปรแกรมนี้สามารถใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูล IBM/PC และควรใช้จอภาพสีเพื่อแสดงรายละเอียด ภาพได้ชัดเจน ส่วนวิธีการ ควบคุมการทำงานของโปรแกรมอธิบายไว้ในโปรแกรม ลำดับการทำงานของโปรแกรม มีดังต่อไปนี้

1. แสดงชื่อโปรแกรม "การทดลองของทอมสัน" และมีภาพหลอดรังสีแคโทดประกอบ
2. อธิบายจุดประสงค์วิธีการใช้และควมคุมการทำงานของโปรแกรม
3. ระบุเนื้อหา ที่ผู้เรียนควรจะรู้ก่อนจะใช้โปรแกรมนี้ เช่น มวล ความเร็ว อนุภาคของสสาร อะตอม อิเล็กตรอน สนามไฟฟ้าและแรงไฟฟ้า สนามแม่เหล็กและแรงแม่เหล็ก
4. ทดสอบความรู้พื้นฐานของผู้เรียน ตามที่ระบุไว่ในข้อ 3 อาจทำให้ผู้เรียนทำข้อสอบชนิด 4 ตัวเลือกจำนวน 10 ข้อ ผู้เรียนจะต้องตอบถูกอย่างน้อย 8 ข้อ จึงสามารถเรียนต่อได้ มิฉะนั้นโปรแกรมจะหยุดทำงาน และแนะนำให้ผู้เรียนไป ศึกษาเนื้อหาในข้อ 3 ใหม่
5. เข้าสู่บทเรียน โดยจะมีรายการคสบคุม (Menu) ให้ผู้เรียนเลือกหัวข้อที่ต้องการ ดังนี้
–ความรู้เกี่ยวกับอิเล็กตรอน
-ความรู้เกี่ยวกับการทดลองของทอมสัน
- ลำอิเล็กตรอนในสนามแม่เหล็ก
- ลำอิเล็กตรอนในสนามไฟฟ้า

–6. ประเมินผลการเรียน หลังจากผู้เรียนศึกษาบทเรียนจนเป็นที่พอใจแล้ว จะมีแบบทดสอบชนิด 4 ตัวเลือกจำนวน 20 ข้อ ให้ผู้เรียนทำโดย ผู้เรียนจะต้องทำถูกอย่างน้อย 14 ข้อ (70%) จึงถือว่าผ่านบทเรียนนี้
–สำหรับคู่มือประกอบการใช้ ควรจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
–อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ต้องการใช้
- มีเอกสารปรระกอบการใช้โปรแกรมหรือไม่
- วิธีการควบคุมการทำงานของโปรแกรม เช่นหยุดการทำงานของโปรแกรม เช่นหยุดการทำงาน ข้ามและย้อนกลับบทเรียนขออธิบายเป็นต้น
- สามารถกลับไปทบทวนบทเรียนก่อนๆ ได้หรือไม่
- มีการบันทึก และรายงานผลการเรียนหรือไม่

4. สร้างโปรแกรม

–เป็นการแปลต้นแบบที่กระดาษให้เป็นชุดคำสั่งที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ โดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง การเขียนโปรแกรมจะต้องมีการตรวจแก้ไขข้อผิดพลาดเนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้
-รูปแบบคำสั่งผิดพลาด เป็นการใช้คำสั่งไม่ถูกต้องตามข้อกำหนด
-แนวความคิดผิดพลาด เป็นข้อผิดพลาดอันเนื่องจากผู้เขียนขั้นตอนการทำงานคลาดเคลื่อน เช่น กำหนด สูตรคำนวณ
หลังจากตรวจและแก้ไข ข้อผิดพลาดต่างๆ เป็นที่เรียบร้อย และโปรแกรมสามารถทำงานตามต้นแบบที่กำหนด ก็เป็นอันสิ้นสุดขั้นตอนการสร้างโปรแกรม ผิดพลาด เป็นต้น


5. ทดสอบการทำงาน


เป็นการนำโปรแกรมที่สร้างไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างผู้เรียนในสภาพใช้งานจริง เพื่อทดสอบการทำงานของโปรแกรม และหาข้อบกพร่องที่ผู้ออกแบบคาดไม่ถึง เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นกลับมาปรับปรุงแก้ไขต่อไป


6. ปรับปรุงแก้ไข


หลังจากทราบข้อบกพร่อง จากการนำโปรแกรมไปทดสอบการทำงาน ก็จะทำการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรม การปรับปรุงจะต้องปรับปรุงที่ตัวต้นแบบก่อน แล้วตามด้วยตัวโปรแกรม หลังจากแก้ไขเรียบร้อย จะต้องนำกลับไปทดสอบการทำงานใหม่ และถ้ายังมีข้อบกพร่องก็จะต้องปรับปรุงแก้ไขอีก


ฉะนั้นขั้นตอนการทดสอบการทำงานและปรับปรุงจะกระทำวนเวียนกันซ้ำๆ จนได้โปรแกรมที่ไม่มีข้อบกพร่องหรือมีข้อบกพร่องน้อยที่สุด และเป็นที่พอใจของผู้ออกแบบ คือนักการศึกษาจึงจะนำไปใช้งาน

7. ประยุกต์ใช้ในห้องเรียน
การนำโปรแกรมไปใช้ในการเรียนการสอนจะต้องทำตามข้อกำหนดสำหรับการใช้โปรแกรมเช่นโปรแกรมสำหรับการออกแบบ สำหรับส่งเสริมการเรียนรู้ควรจะมีชั่วโมงกิจกรรมสำหรับการใช้โปรแกรม โปรแกรมที่ออกแบบสำหรับสาธิตการทดลอง ควรจะให้นักเรียนได้ใช้โปรแกรมก่อนจะเข้าห้องทดลองจริง เป็นต้น

8. ประเมินผล
การประเมินผลเป็นขั้นตอนสุดท้ายสำหรับการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะเป็นการสรุปว่า โปรแกรมที่สร้างเป็นอย่างไร สมควรจะนำไปใช้ในการเรียนการสอนหรือไม่ การประเมินผลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 ประเมินว่า หลังจากนักเรียนใช้โปรแกรมนี้แล้วบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ วิธีการประเมินผลส่วนนี้กระทำโดยผู้เรียนทำแบบทดสอบ ก่อนและหลังการใช้โปรแกรม เพื่อวัดความก้าวหน้าของผู้เรียน ถ้าผลการทดสอบออกมาติดลบแสดงว่าหลังจากการ ใช้โปรแกรมผู้เรียนไม่ได้พัฒนาขึ้นเลย จำเป็นต้องมีการปรับปรุงต้นแบบหรือวัตถุประสงค์ใหม่ เพราะ วัตถุประสงค์ใหม่เพราะโปรแกรมที่สร้างไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้
ส่วนที่ 2 ประเมินในส่วนของโปรแกรมและการทำงานว่า การใช้โปรแกรมกับเนื้อหารวิชานี้เหมาะสมหรือไม่ เจตคติของผู้เรียนต่อการใช้โปรแกรมเป็นอย่างไร วิธีการใช้โปรแกรมง่ายยากอย่างไร วิธีการสอนบทเรียน ความถูกต้องของเนื้อหา เอกสารประกอบ การติดต่อกับผู้เรียน เป็นอย่างไรการประเมินผลเป็นอย่างไรการประเมินผลส่วนนี้จะใช้แบบสอบถาม
•จากขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้รนี้ จะเห็นว่าการออกแบบซึ่งได้แก่ระบุเหตุผล กำหนดวัตถุประสงค์และลำดับขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นตัวกำหนดความสำเร็จของงานแต่ผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนส่วนใหญ่ละเลย ขั้นตอนเหล่านี้หรือให้ความสนใจในส่วนนี้น้อยมาก กลับไปสนใจโปรแกรมทำให้วงขยายกว้างขึ้นเกินไป และมักจะล้มเหลวในที่สุดเพราะไม่มีแผนหรือต้นแบบควบคุมการทำงาน
•แนวทางการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นการเสนอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้ตระหนังถึงแนวทางที่ถูกต้องในการพัฒนาและประยุกต์ใช้สื่อการสอน ได้ตระหนักถึงแนวทางที่ถูกต้องในการพัฒนาประยุกต์ใช้ สื่อการสอนคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในวงการการศึกษาและเป็นการส่งเสริมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เริ่มงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยลำดับขั้นตอนการทำงานที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ตรงตามวัตถุประสงค์ และมีประสิทธิภาพ


สรุป

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนยังคงเป็นสื่อการสอนที่ต้องศึกษาในมุมต่าง ๆ อีกมาก ภายใต้แนวความคิดที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การควบคุมโดยผู้เรียนดูเหมือนเป็นวิธีที่เหมาะสมที่จะใช้ในการออกแบบบทเรียนสำหรับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แต่การปล่อยให้ผู้เรียนได้มีอิสระในการเรียนรู้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะดีต่อผู้เรียนเสมอไปในทุกเรื่อง เนื้อหาที่มากมายและออกแบบอย่างไม่เป็นระบบ อาจทำให้ผู้เรียนต้องเสียเวลาในการค้นคว้า หรือหลงไปในประเด็นที่ไม่สำคัญจนพลาดในสิ่งที่ผู้เรียนควรจะต้องเรียนรู้

การควบคุมโดยโปรแกรมกำหนดก็อาจหมาะสมได้กับในบางลักษณะของผู้เรียนเช่นกัน แม้จะถูกมองว่าไม่ให้อิสระในการเรียนรู้กับผู้เรียน และกำหนดให้ผู้เรียนต้องทำตามที่โปรแกรมกำหนดเท่านั้น ทำให้การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงมักออกแบบให้ผู้เรียนควบคุมการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตามผู้ออกแบบและพัฒนาก็ต้องคำนึงถึง ความแตกต่างของผู้เรียน เนื้อหา และเงื่อนไขในการควบคุมโดยผู้เรียนด้วยเช่นกัน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็จะไม่เป็นเพียงหนังสือเล่มใหญ่ที่ผู้เรียนต้องเลือกเปิดเอาเองเท่านั้น

อ้างอิง


www.pec9.com (เนื้อหา)
www.google.com (รูปภาพ)

THE END.

โรงเรียน รัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน

กรุงเทพมหานคร

โดย น.ส.หทัยรัตน์ ศักดิ์ศรีสวัสดิ์
รหัส 4734
(www.krucai.com)

ไม่มีความคิดเห็น: